โรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข

Last updated: 19 ก.ค. 2565  |  77519 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข

              อาการท้องเสียหรือถ่ายเหลวในสุนัขนั้น ความจริงแล้วมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น เกิดจากเชื้อโปรโตซัว (บิด) เชื้อแบคทีเรีย พยาธิในลำไส้ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนชนิดของอาหารและน้ำดื่ม อาการท้องเสียที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าวเบื้อต้นนั้นมีวิธีการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง ยกเว้นแต่อาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่มียารักษาหรือฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง รักษาจามอาการ และเชื้อไวรัสยังมีความรุนแรงทำให้สุนัขที่ป่วยเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

โรคไวรัสลำไส้อักเสบในสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัส 3 ชนิดเรียงลำดังตามความรุนแรงดังนี้คือ 
          เชื้อพาร์โวไวรัส (Canine parvovirus) 
          เชื้อโคโรน่าไวรัส (Canine coronavirus) 
          เชื้อโรต่าไวรัส (Rotavirus)
อาการของสุนัขที่ติดเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด จะคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงความรุนแรง แล ลักษณะการเกิดโรค

เชื้อพาร์โวไวรัส

              เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข แบบเฉียบพลันและรุนแรงมากกว่าเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ การติดเชื้อพาร์โวไวรัสสามารถเกิดกับสุนัขทุกๆ ช่วงอายุ แต่ในลูกสุนัขอายุ 2-3 เดือนจะมีความไวต่อการติดเชื้อ อาการของโรคจะรุนแรงมาก นอกจากนี้ยังพบว่าสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น ร็อตไวเลอร์ โดเบอร์แมนพิชเชอร์ พิตบลูเทอเรีย เยอร์มนเชิพเพอร์ด และ ลาบาดอร์รีทรีฟเวอร์ มีความไวต่อเชื้อนี้สูงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และพบว่าลูกสุนัขที่ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง เนื่องจากไม่มีการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง

การติดต่อ 
              โดยการกินเชื้อไวรัสที่ออกมากับอุจจาระ น้ำลาย น้ำตา สารคัดหลั่ง และปนเปื้อนใน อาหาร น้ำ หรือ สิ่งแวดล้อม (เชื้อพาร์โวไวรัสจะคงทน และมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานหลายเดือน)

กลไกการติดเชื้อ 
              ระยะฟักตัวของเชื้อ (ติดเชื้อโดยไม่มีการแสดงอาการ) นาน 4-7 วัน จากนั้นเชื้อไวรัสจะแพร่กระจาย ไปยังอวัยวะเป้าหมาย เช่น เนื้อเยื่อของลำไส้ ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง และจะมีการแบ่งตัวทำอันตรายอวัยวะเหล่านั้น โดยทำให้เซลล์ของลำไส้เสียหาย ตายและลอกหลุดไป ทำให้สุนัขท้องเสียแบบรุนแรงและมีเลือดปน มีไข้สูง นอกจากนี้เชื้อไวรัสยังทำลายและกดไขกระดูก ทำให้ระดับเม็กเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวลดลงร่วมกับกา รทำอันตรายระบบน้ำเหลือง ทำให้สุนัขจะมีภาวโลหิตจางและภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ

เชื้อโคโรน่าไวรัส 
              เชื้อโคโรน่าไวรัสทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข ได้แบบเฉียบพลับเช่นเดียวกับพาร์โวไวรัส แต่ความรุนแรงของโรคน้อยกว่า ไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปแบ่งตัวและทำลายเนื้อเยื่อของลำ ไส้ เป็นผลทำให้เซลล์ของลำไส้ถูกทำลาย ลอกหลุด ฝ่อตัวและบางส่วนจะตายลง เป็นเหตุให้สุนัขท้องเสียรุนแรง มีเลือดปน โดยที่เชื้อโคโรน่าไวรัสจะมีการติดต่อ อาการและกลไลการเกิดโรคล้าย ๆ กับพาร์โวไวรัส เพียงแต่จะไม่ทำให้เกิดไข้สูง ไม่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตถ้าหากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

เชื้อโรต่าไวรัส 
              เชื้อโรต่าไวรัสเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสียไ ด้ทั้งในมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งนก แต่พบว่าในสุนัขจะมีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ค่อยข้าง น้อย และอาการไม่รุนแรง และจากการศึกษายังพบว่าสุนัขร้อยละ 79 ที่ติดเชื้อไวรัสนี้สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการรักษา ถ้าหากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน

การวินิจฉัยโรค 
              ขอประวัติการทำวัคซีน อาการของโรค 
              ตรวจอุจจาระ เพื่อวินิจฉัยแยกแยะออกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว พยาธิในลำไส้ฯ 
              ตรวจโลหิตวิทยา เพื่อดูระดับของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว 
              ตรวจค่าเคมีในเลือด และระดับอิเลคโตรไลท์ 
              เอ็กซ์เรย์ช่องท้อง เพื่อวินิจฉัยแยกแยะการอุดตัน ของสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหาร ลำไส้บิด หรือลำไส้กลืนกัน 
              การตรวจหาเชื้อไวรัสในอุจจาระ ซึ่งในปัจจุบันมีชุดตรวจพิเศษซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อพาร์โวไวรัสได้

การรักษา 
              การรักษาลำไส้อักเสบติดต่อนั้นไม่มีการรักษาแบบเฉพาะ เจาะจง จึงมีเพียงการรักษาแบบพยุงอาการ และควบคุมการติดเชื้อแทรกซ้อน ดังนี้ คือ

              การให้น้ำ สารอาหาร และแร่ธาตุอิเลคโตรไลท์เข้าทางหลอดเลือดดำ ใต้ผิวหนัง และทางปาก เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ สารอาหารและแร่ธาตุ เนื่องมาจากสัตว์เบื่ออาหารร่วมกับอาการถ่ายเหลว และอาเจียน 
              ยาปฎิชีวนะ ควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน 
              การจัดการด้านโภชนาการ ในระยะแรกที่สัตว์มีอาเจียนและถ่ายเหลวมาก ๆ ควรมีการงดน้ำงดอาหารทางปากอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยการให้สารอาหารเข้าทางกระแสเลือดทดแทน เพื่อให้ทางเดินอาหารได้พัก และปรับสภาพ หลังจากนั้น ค่อยให้สุนัขรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย โดยแบ่งให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่น เนื้อไก่ส่วนที่ไม่มันต้ม หรือคลุกกับข้าว หรืออาหารสำเร็จรูปที่มีขายเช่น Hill prescription i/d และ Waltham intestinal formula จนกระทั่ง การทำงานของลำไส้กลับมาเป็นปกติ จึงกลับมารับประทานอาหารตามปกติ 
              ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน และยาลดกรดในทางเดินอาหาร เพื่อลดการสูญเสียน้ำและอิเลคโตรไลท์ และลดการระคายเคือง ของทางเดินอาหารส่วนต้น เนื่องจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร 
              ยาแก้ท้องเสีย โดยทั่วไปแล้วมักไม่นิยมใช้กับการท้องเสียเนื่องมาจา กการติดเชื้อ 
              การให้เลือด ในกรณีที่มีการถ่ายเหลวแบบมีมูกเลือดรุนแรง เป็นเหตุให้มีภาวะโลหิตจางตามมา

              การฉีดภูมิคุมกัน

การป้องกันโรค 
              การทำวัคซีนป้องกันโรค เป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ควรทำตามโปรแกรมที่กำหนด และงดเดินทางไปตามสถานที่เสี่ยง หากวัคซีนยังไม่ครบ นอกจากนั้นอาจแยกสัตว์ ป่วยออกจากตัวอื่น ๆ ในฝูงเพื่อลดการติดเชื้อ รวมทั้งมีการจัดการที่ดีเก็บล้างทำความสะอาด อุจจาระและบริเวณที่สัตว์นอน

#ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย #yorkshireterrier #ยอร์ค #ยอร์คเชียร์ #เทอร์เรีย #ลูกยอร์ค #ลูกยอร์คเชียร์ #ทีคัพ #teacup #tcup #yorkshire #terrier #yorkie #ขายยอร์คเชียร์ #โรงพยาบาลสุนัขใกล้ฉัน

Powered by MakeWebEasy.com